วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 E-Commerce

บทที่ 4 E-Commerce


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
          คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
          คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)   การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
     - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
     - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
     - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
     - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
     - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
     - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
          องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพนื้ ฐาน ที่จะนำมาใช้เพอื่ การพัฒนาระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
          1. ระบบเครือข่าย (Network)
          2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
          3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
          4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
          ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังนี้
          1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
          2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
          3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
          4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
          5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          Brick – and – Mortar Organization  องค์กรเก่าเศรษฐกิจ (บริษัท ) ที่ดำเนินการส่วนใหญ่ของธุรกิจแบบออฟไลน์ขายสินค้าทางกายภาพโดยใช้วิธีการทางกายภาพตัวแทน
          Virtual Organization  องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ แต่เพียงผู้เดียว
          Click – and – Mortar Organization  องค์กรที่ดำเนินการบางกิจกรรมโดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ทำธุรกิจหลักในโลกทางกายภาพ

ประเภทของ E-Commerce
          กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
               1. Business-to-Business (B2B)
               2. Business-to-Customer (B2C)
               3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
               4. Customer-to-Customer (C2C)
               5. Customer-to-Business (C2B)
               6. Mobile Commerce
          กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
               1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
               2. Business-to-Employee (B2E)
               3. Government-to-Citizen (G2C)
               4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
               5. Exchange-to-Exchange (E2E)
               6. E-Learning

E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจ


          หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ และรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
          ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก เช่น AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน),และ Business Online(ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้
          ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นดังนั้น หากเรามองว่าธุรกิจ E-Commerce มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว
          ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์  Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้), Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาจะพบว่า ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจท่เี รียกว่า Clickand-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม
          ตัวอย่างของธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar ได้แก่การที่ Amazon ได้ลงทุนสร้างคลังสินค้าและพยายามทำความตกลงเป็นพันธมิตรกับ Walmart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่มีช่องทางจัดจำหน่าย ในขณะเดียวกันเรายังเห็นแนวโน้มของการที่ร้านค้าปลีกแบบเดิมเช่น 7-Eleven หันมาประกอบธุรกิจออนไลน์ด้วย ดังตัวอย่างของ 7dream ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากการมีร้านค้าทางกายภาพ และการทำธุรกิจออนไลน์ ร่วมกัน
          ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา  ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ คือYahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่นนอกจากนี้ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ GreaterGood ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากการแนะนำลูกค้าให้แก่เว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งคล้ายกับการหารายได้จากค่าโฆษณา
          บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ)และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน) บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov) เป็นต้น
          ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์  ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และPriceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ได้กำไรตั้งแต่ปี 1996
ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
          ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลาง ซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker)อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ในช่วงหลังเราจึงเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รวมตัวกันในลักษณะของ consortium เป็นแกนกลางในการบริหารตลาดกลางเอง โดยชักชวนให้ซัพพลายเออร์และลูกค้าของตนเข้าร่วมในตลาด
ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซ้อื หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี
          ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity  เช่น การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน)Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance(ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงานหรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น



ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     ข้อดีของ E-Commerce
          1.สามารถเปดิ ดำเนนิ การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
          3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
          4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
          5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครงั้ เดยี วแต่ไปได้ทั่วโลก
          6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
          7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
          8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
     ข้อเสียของ E-Commerce
          1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
          2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
          3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
          4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
          5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น