วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 E-Marketing


บทที่ 5 

E-Marketing

     
          E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

คุณลักษณะของ E-Marketing
          -  เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
          -  เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
          -  เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือ กลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
          -  มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
          -  เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
          -  สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
          -  มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
          -  มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
          -  มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)


          E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็นต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน

          ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดยใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce
          -  E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ  ได้แก่
                    -  การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet) 
                    -  การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
                    -  การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)


ประโยชน์ของ e-Marketing



          นักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำการตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมองว่า E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้  ดังนี้

          นอกจากนี้ Smith and Chaffey ยังได้กล่าวถึง 5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้  ได้แก่
                    -  การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการเราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
                    -  การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)
                    -  การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ

                    -  ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม
                    -  การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์แผนกลยุทธ์บริษัท การบินไทยจำกัด ( มหาชน )


แผนกลยุทธ์บริษัท การบินไทยจำกัด ( มหาชน )


          การบินไทย สายการบินแห่งชาติ บริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินกิจการในด้านการบินพาณิชย์ในประเทศ และระหว่างประเทศ ในฐานะสายการบินแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ ที่ดำเนินกิจการแข่งขันกับต่างประเทศ ในธุรกิจการบินโลก

ความเป็นมา
          ก่อตั้งขึ้นในปี 2502 โดยการทำสัญญาร่วมทุน ระหว่าง บริษัทเดินอากาศไทย จำกัดกับ สายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม ( เอส . เอ . เอส .) สายการบินแห่งชาติ ให้บริการขนส่งทางอากาศในเส้นทางภายในประเทศ ภูมิภาค และข้ามทวีปในปี 2545 เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ในเอเชียเมื่อเทียบจากปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร หนึ่งในห้าสายการบินร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เป็นกลุ่มพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยปัจจุบันมีสายการบินสมาชิกจำนวน 16 สายการบิน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2534 ปัจจุบัน มีมูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) 69,650 ล้านบาท

นโยบายของบริษัทฯ
          ดำเนินงานในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการดำรงรักษาและเพิ่มพูนสิทธิด้านการบิน ร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แสวงหาและเพิ่มพูนรายได้ ทั้งในรูปเงินบาท และเงินตราต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ บริษัทฯ ให้มีทักษะ และวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ในการบินพาณิชย์ของโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของประเทศไทย สู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง
          เครื่อข่ายการบิน เครือข่ายการบินครอบคลุมจุดบิน 71 แห่ง ( ไม่รวมกรุงเทพฯ ) ใน 35 ประเทศ ( รวมประเทศไทย ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ให้บริการ 848 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ การบินไทย สามารถขยายขอบข่ายการให้บริการการบินครอบคลุมจุดบิน 123 แห่ง ใน 55 ประเทศ โดยอาศัยความตกลงในการร่วมมือทางการบินกับสายการบินพันธมิตร

วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ
          เป็นสายการบินที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก ให้บริการดีเลิศด้วยเสน่ห์ไทยภารกิจของบริษัทฯ
ให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างครบวงจร ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และ การบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อลูกค้า  มีการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากล และมีผลประกอบการที่น่าพอใจ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจให้พนักงานเรียนรู้และทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และภูมิใจที่เป็นส่วนร่วมในความสำเร็จของบริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติ

SWOT ANALYSIS บริษัทการบินไทย จำกัด ( มหาชน )
 
1. จุดเด่น (Strength)
     - เป็นสายการบินประจำชาติไทย
     - งานบริการดีมีน้ำใจ
     - อุ่นใจทุกครั้งที่เห็นการบินไทยเวลาอยู่ต่างแดน
     - มีสโลแกน “ รักคุณเท่าฟ้า ” 
     - เป็นสายการบินที่ให้บริการแบบครบวงจร
     - มีบริการที่ดีเลิศ และมีเครือข่ายการบินที่ครอบคลุม
     - มีภาพลักษณ์อยู่ในระดับโลก มีราคาอยู่ในระดับปานกลาง 

2. จุดด้อย (Weakness)
     - ราคาตั๋วแพง
     - นักการเมืองแสวงหาผลประโยชน์และใช้การบินไทยเป็นเครื่องมือ


3. โอกาส (Opportunity)
     - เป็นสายการบินของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงและผู้คนรู้จัก
4. อุปสรรค (Threat)
     - การคอรัปชั่นของนักการเมือง
     - มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกไม่มีความสามัคคี

5. สภาวะแวดล้อมจากภายนอก
     ปัจจุบันธุรกิจสายการบินทั่วโลกต้องเผชิญวิกฤตเนื่องจากน้ำมันมราคาแพง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินเป็นอย่างมาก แนวโน้มข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสายการบินเป็นอย่างมาก ทำให้สายการบินจำนวนมากมีผลประกอบการขาดทุน โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ

6. สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน
     - ผู้แข่งขันรายใหม่ นโยบายการเปิดน่านฟ้าเสรี
     - อำนาจต่อรองกับผู้ซื้อ มีน้อยเพราะลูกค้ามีตัวเลือกมาก
     - อำนาจต่อรองกับผู้ขาย มีน้อย
     - คู่แข่งขันปัจจุบัน สายการบินต้นทุนต่ำและสายการบิน ต่างประเทศ
     - สินค้าทดแทน รถทัวร์ เรือเดินสมุทร


7. สภาวะแวดล้อมภายใน
     - วัฒนธรรมองค์การ
     - สร้างทัศนคติการทำงานร่วมกันเป็นทีม

8. ข้อมูลสารสนเทศ
     เพิ่มศักยภาพระบบสารสนเทศให้มีความพร้อมในการรองรับระบบการบริการ และการขายบัตร โดยสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มยอดขายในกลุ่มลูกค้า และผู้โดยสาร ที่นิยมใช้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถซื้อบัตรโดยสาร สำรองที่นั่ง เลือกเที่ยวบิน เลือกชั้นโดยสาร เวลาการเดินทาง ตลอดจนที่นั่งและอาหารผ่านทางอินเตอร์เน็ต

บทที่ 4 E-Commerce

บทที่ 4 E-Commerce


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
          คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
          คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)   การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
     - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
     - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
     - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
     - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
     - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
     - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
          องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพนื้ ฐาน ที่จะนำมาใช้เพอื่ การพัฒนาระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
          1. ระบบเครือข่าย (Network)
          2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
          3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
          4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
          ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังนี้
          1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
          2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
          3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
          4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
          5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          Brick – and – Mortar Organization  องค์กรเก่าเศรษฐกิจ (บริษัท ) ที่ดำเนินการส่วนใหญ่ของธุรกิจแบบออฟไลน์ขายสินค้าทางกายภาพโดยใช้วิธีการทางกายภาพตัวแทน
          Virtual Organization  องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ แต่เพียงผู้เดียว
          Click – and – Mortar Organization  องค์กรที่ดำเนินการบางกิจกรรมโดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ทำธุรกิจหลักในโลกทางกายภาพ

ประเภทของ E-Commerce
          กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
               1. Business-to-Business (B2B)
               2. Business-to-Customer (B2C)
               3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
               4. Customer-to-Customer (C2C)
               5. Customer-to-Business (C2B)
               6. Mobile Commerce
          กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
               1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
               2. Business-to-Employee (B2E)
               3. Government-to-Citizen (G2C)
               4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
               5. Exchange-to-Exchange (E2E)
               6. E-Learning

E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจ


          หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ และรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
          ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก เช่น AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน),และ Business Online(ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้
          ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นดังนั้น หากเรามองว่าธุรกิจ E-Commerce มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว
          ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์  Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้), Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาจะพบว่า ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจท่เี รียกว่า Clickand-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม
          ตัวอย่างของธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar ได้แก่การที่ Amazon ได้ลงทุนสร้างคลังสินค้าและพยายามทำความตกลงเป็นพันธมิตรกับ Walmart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่มีช่องทางจัดจำหน่าย ในขณะเดียวกันเรายังเห็นแนวโน้มของการที่ร้านค้าปลีกแบบเดิมเช่น 7-Eleven หันมาประกอบธุรกิจออนไลน์ด้วย ดังตัวอย่างของ 7dream ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากการมีร้านค้าทางกายภาพ และการทำธุรกิจออนไลน์ ร่วมกัน
          ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา  ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ คือYahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่นนอกจากนี้ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ GreaterGood ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากการแนะนำลูกค้าให้แก่เว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งคล้ายกับการหารายได้จากค่าโฆษณา
          บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ)และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน) บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov) เป็นต้น
          ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์  ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และPriceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ได้กำไรตั้งแต่ปี 1996
ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
          ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลาง ซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker)อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ในช่วงหลังเราจึงเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รวมตัวกันในลักษณะของ consortium เป็นแกนกลางในการบริหารตลาดกลางเอง โดยชักชวนให้ซัพพลายเออร์และลูกค้าของตนเข้าร่วมในตลาด
ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซ้อื หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี
          ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity  เช่น การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน)Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance(ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงานหรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น



ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     ข้อดีของ E-Commerce
          1.สามารถเปดิ ดำเนนิ การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
          3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
          4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
          5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครงั้ เดยี วแต่ไปได้ทั่วโลก
          6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
          7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
          8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
     ข้อเสียของ E-Commerce
          1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
          2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
          3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
          4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
          5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน


วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 E- Environment

บทที่ 3

E- Environment


Business Environment  





สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ 
     
 สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
     สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment) 
     คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
     - ตลาด หรือลูกค้า (Market)
     - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
     - คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
     - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)      คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
     - ด้านการเมืองและกฎหมาย
     - เศรษฐกิจ
     - สังคม
     - เทคโนโลยี


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix 




E-environment

Social Factor
     สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์ สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือ โรคไข้หวัดนก ในปี พ.ศ.2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552) คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2552 หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้

Political and Legal Factor
     สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน กฎ ระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ในประเด็นผลกระทบต่อการทำธุรกิจ พบว่านักธุรกิจร้อยละ 17.10 มองว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบเป็นอันดับแรกต่อการดำเนินธุรกิจ (เดลินิวส์, 2552) ข้อกังวลในสายตาของนักลงทุน คือ กฎ ระเบียบ นโยบายในการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลงตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ถ้าการดำเนินธุรกิจขัดต่อกฎหมาย ธุรกิจย่อมจะมีปัญหาในการดำเนินงาน (สมชาย, 2552)

Technological Factor
     สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ

บทที่ 2 E-business infrastructure

บทที่  2

E-business infrastructure


          
          E-business infrastructure หมายถึง  การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย 

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components
          1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรม ต่าง ๆ จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
          2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่อง
ของการจัดการซอฟต์แวร์
          3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสาน
งานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
          4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้
ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
          5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต

Key management issues of e-business infrastructure

          1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่นก่ารจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความ
ปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
          2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
          3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
          4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร





          Internet technology      Internet  ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server

Intranet applications
          อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management Extranet applications
          เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง

 Firewalls
          ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง
Web technology
          World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ




Web broswsers and servers     
          เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
          เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์


Internet - access software applications




     - Web 1.0

          ลองนึกย้อนไปตอน Internet เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงๆจังๆ  เราจะเริ่มหรือเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆที่เราเห็นอยู่นั่นแหละไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนเราผู้ใช้ก็มีหน้าที่ คือกดเข้าไปอ่านส่วนเจ้าของก็คือมีหน้าที่คือ Update ข้อมูลเข้ามาทำกันไปกันมาแบบเดียวกันนี้แหละ ซึ่งโดยสรุปเราอาจจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือเรียกว่า One Way Communication ก็ได้

     - Web 2.0

          จาก WEB 1.0 ต่อมาเว็บไต์ก็เริ่มมีการพัฒนา พวก WEB Board, Blog, มีการนำภาพมาแชร์ นำ วีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน พูดคุย ถกเถียงกัน นินทา ประจาน ใส่ร้ายก็มี ทั้งจากเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือจากคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์กันเองเรียกว่า ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล หรือ Content ในเว็บไซต์นั้นมีการ update และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ซึ่งพอมาถึงจุดนี้ทำให้ อินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว




     - Web 3.0

          จาก WEB 2.0 ก็เริ่มขยับก้าวเข้ามาสู่ช่วงของ WEB 3.0  สิ่งที่คนพัฒนาเว็บกำลังพยายามทำกันต่อก็คือ แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มีคุณภาพต่างๆ ที่ WEB 2.0 ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำยังไงละผู้ใช้ถึงจะสามารถเข้าถึง Content หรือสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ง่ายและตรงความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ก็เลยมีการพูดถึง







- Web 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “A Symbiotic Web” (Ubiquitous Web) คือ Web ที่มีทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง การสร้างให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดได้ (Human Mind & Machines หรือHuman & Robot Coexistence) มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา รูปภาพ และสามารถตอบสนองด้วยการคำนวณหรือสามารถตัดสินใจได้ว่าจะดึงข้อมูลใดที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ก่อน และมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection กล่าวคือ จะพบได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะเป็น Device ใด สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างแน่ชัด รวมถึงอาจจะเชื่อมโยงไปกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบุตัวตน เช่น GPS และก็สามารถใช้งานได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายจนไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากใดในระหว่างการทำงานหนึ่งๆ อาจจะมีข้อความแทรกขึ้นมาทันทีก็ได้

ลักษณะของ Web 4.0 จะไม่ได้มองไปที่ “ข้อมูล” อีกต่อไป เพราะจะก้าวข้ามกลายเป็นกิจกรรมแทน เพราะได้ผ่านจุดของ Web 3.0 ที่สามารถสื่อสารกันไปแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจึงแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระจนมองข้ามมันไปได้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน แต่กลับไปสนใจแทนว่า หากจะทำกิจกรรมหนึ่งๆ มีที่ไหนที่มี Application ที่จะสนับสนุนกิจกรรมที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น หากต้องการจะซื้อเสื้อ ข้อมูลเสื้อจากทุกๆ แหล่งที่รองรับกิจกรรมนี้ก็จะถูกส่งมารวมกัน โดยอาจมีข้อมูลประกอบว่าร้านอยู่ที่ไหนจาก Application ด้านข้อมูลสถานที่ และสามารถเลือกผู้ส่งสินค้าได้ จาก Application จากผู้ให้บริการด้านการส่ง เป็นต้น




วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

บทที่ 1
Introduction to E-Business and E-commerce


          ปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อาทิเช่น internet WWW และ การสื่อสารแบบไร้สาย ในองค์กรธุรกิจมานานมากกว่า 15 ปี นับตั้งแต่ มีการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นครั้งแรก โดย Sir Tim Berners-Lee ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ซึ่งการปรับใช้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้ สร้างโอกาส มากมายสำหรับการสร้างนวัตกรรม ทาง e-Business




          โลกเสมือน (Virtual World)  คือ  การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ นั่นหมายความว่า โลกเสมือนจะต้องรองรับ การใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา (24 ชั่วโมงต่อวัน)

          Location Based Services (LBS)  เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ ลักษณะบริการที่พบเห็นบ่อยคือคำถาม “ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน?” “จะไปที่สถานที่ที่ต้องการได้อย่างไร?” “มีอะไรอยู่แถวนี้บ้าง?” ซึ่งเป็นการค้นหาสถานที่ คน สัตว์ หรือ สิ่งของ

          บริการเครือข่ายสังคม (social network service) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกม



ผลกระทบของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อธุรกิจในปัจจุบัน
     -  ความนิยมในการใช้งาน Virtual Worlds และ Social Network ที่เพิ่มมากขึ้น 
     -  การนําเสนอสื่อรูปแบบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ให้น่าสนใจ  และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมหรือผู้ใช้งานให้มาก          ที่สุด
     -  แนวโน้มในการใช้งาน  Mobile Commerce  สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการพัฒนาของ  Mobile Device              เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่  Smartphone  และ  Tablet
     -  LBS : Local Base Service  ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันของ มนุษย์



E-business 
          e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อย ๆ อาทิ
          -  BI=Business Intelligence:  การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
          -  EC=E-Commerce:  เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
          -  CRM=Customer Relationship Management:  การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
          -  SCM=Supply Chain Management:  การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
           -  ERP=Enterprise Resource Planning:  กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

   
ความแตกต่างระหว่าง  e-commerce กับ  e-business
          E-commerce คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
          E-business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ






วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


♥ ประวัติส่วนตัว ♥




*******************************************************************

♥ ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ...นางสาวสุกฤตา  สมใจ
ชื่อเล่น...รุ้ง
เกิด...วันที่ 5 กรกฏาคม  2534
กรุ๊ปเลือด...โอ
เชื้อชาติ...ไทย
สัญชาติ...ไทย
ศาสนา...พุทธ
ที่อยู่ปัจจุบัน...บ้านเลขที่ 10/1  ซอย 3  ถนนวัวลาย  ตำบลหายยา  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  50100
เบอร์โทรศัพท์...053-276-091
เบอร์มือถือ...091-068-810-8
e-mail...sukrittasomchai@gmail.com


*******************************************************************

♥ ข้อมูลการศึกษา


-  จบการศึกษาระดับชั้นอนุบาล : โรงเรียนอนุบาลกาวิละ
-  จบการศึกษาระดับชั้นประถม : โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอนไชย
-  จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
-  จบการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ : วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
-  จบการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง : วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
-  ปัจจุบัน : มหาวิทยาลัยราชภัฎศึกษาเชียงใหม่


*******************************************************************